กรมประมงชู “ปลากัด” สัตว์น้ำประจำชาติ

betta
กรมประมงชู “ปลากัด” สัตว์น้ำประจำชาติ
Sep 9, 2018
by

กรมประมงเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

 

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ

น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

Tag
ปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Jan 28, 2020

Phon betta thailand ผู้บุกเบิกการไลฟ์สดประมูลบนปลากัดบนYoutubeเจ้าแรกในประเทศไทย Phon betta thailandผู้เริ่มต้นจากการไลฟ์สดประมูลปลากัดบนFacebook แต่ผิดกฏมาตราฐานการห้ามขายสัตว์บนfacebook จึงได้ปรับตัวมาไลฟ์สดบน Youtube แทน ซึ่งความเสถียรของระบบไลฟ์สด Youtuberทำได้ดีกว่าFacebookซะด้วย ถือว่าPhon betta thailand ได้ช่วยบุกเบิกอีกหนึ่งช่องทางซื้อขายปลากัดให้กับพี่น้องวงการปลากัดได้สำเร็จ  สำหรับผู้สนใจจะไลฟ์ประมูลปลากัด กด ได้เลย ไลฟ์สดปลากัดกับ อ.น้อย  ปลาเกรดคุณภาพทุกตัว ถ้าแชร์ไลฟ์บนfacebookจะแถมตัวเมียให้ทุกคู่ด้วยนะ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม "ลด แลก แจก แถม" มากมายในไลฟ์สด ไม่ได้อวยแต่คือเรื่องจริง   

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ